Table of Contents
Podcast Dinner Conversation คุยพร้อมอาหาร สัปดาห์นี้ เป็น Episode 2 แล้ว ใครที่พลาดอิพิโซด 1 สามารถฟังย้อนหลังได้ ส่วนรายการในตอนนี้นี้เราจะมาชวนคุยกันถึง งานสัปดาห์หนังสือ 2566 ซึ่งมีผู้ถามไถ่กันมามากว่า งานจัดวันไหนถึงวันไหน เปิดปิดงานกี่โมง เวลาไหนควรไปเดิน หรือช่วงเวลาที่สำนักพิมพ์จัดกิจกรรมจะเป็นช่วงไหนบ้าง แต่ที่สำคัญที่สุดของรายการคือเราจะแนะนำ หนังสือน่าอ่าน ว่ามีเล่มใดบ้าง และเราจะพูดคุยว่าหนังสือเหล่านั้นน่าอ่านอย่างไร
งานสัปดาห์หนังสือ 2566 จัดที่ไหน
งานสัปดาห์หนังสือ 2566 จัดที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ที่บริเวณฮอลล์ 5-7 ชั้น LG ระหว่างวันที่ 30 มีนาคม – 9 เมษายน 2566
เวลาเปิดปิดของปีนี้แตกต่างจากทุกครั้งคือ
วันที่ 30 เมษายน เปิดเวลา 17.00 น.-24.00 น.
31 เมษายน และ วันที่ 1 เมษายน เปิด 10.00 น.-24.00 น.
นั่นหมายความว่างานนี้มีสามวันที่งานหนังสือเปิดดึกจนถึงเที่ยงคืน ส่วนวันอื่นๆ ที่เหลือ คือ วันที่ 2 – 9 เมษายน เปิดเวลา 10.00 น.-21.00 น.
หนังสือน่าอ่าน ในงานสัปดาห์หนังสือ 2566
1. แฮมเล็ต โดย วิลเลียม เชคสเปียร์ แปลโดย ศวา เวฬุ วิวัฒนา (พิมพ์ครั้งที่ 4)
Hamlet แปลมาสู่ฉบับแปลภาษาไทยครั้งแรก หรือในชื่อเต็มคือ โศกนาฏกรรมของ แฮมเล็ต องค์ชายแห่งเดนมาร์ก บทละคร 5 องก์ ต้นกำเนิดวรรณกรรมกระแสสำนึก เขียนขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1599–1601 และตีพิมพ์แบบไม่ได้รับอนุญาตในปี ค.ศ. 1603 แฮมเล็ตเป็นหนึ่งในบทละครโศกนาฏกรรมล้างแค้นที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่งของวิลเลียม เชคสเปียร์ แปลจากต้นฉบับ First Folio ควอร์โตที่สองของปี ค.ศ. 1604
แฮมเล็ต หนังสือ แนวโศกนาฏกรรมแก้แค้น ในคืนที่หนาวเหน็บวิญญาณกษัตริย์องค์ก่อน พ่อของ แฮมเล็ต – Hamlet ปรากฏตัว และขอให้แฮมเล็ตช่วยล้างแค้น คลอเดียสซึ่งเป็นน้องของพ่อคือผู้ลงมือ แฮมเล็ตต้องการสืบให้แน่ชัด เขาจ้างคณะละครมาแสดงเลียนแบบฉากฆาตกรรม เมื่อรู้แน่ชัดเขาจึงต้องการล้างแค้นให้พ่อ เกอร์ทรูดแม่ของแฮมเล็ตแต่งงานกับคลอเดียสในทันที แฮมเล็ตเหมือนถูกแยกออกมาจากครอบครัว ขณะที่โอฟีเลียคนรักของเขา ก็ได้รับคำสั่งจากโพโลเนียสผู้พ่อ และเลแอร์ทีสพี่ชายให้อยู่ห่างจากแฮมเล็ต เรื่องราวโศกนาฏกรรมดำเนินไปจนถึงตอนท้ายเรื่องซึ่งเต็มไปด้วยความขัดแย้ง การแก้แค้น และจบลงด้วยเลือดที่นองท้องพระโรง
สั่งซื้อหนือซื้อ เม่นวรรณกรรม
2. ช่องว่างระหว่างความกมาย เขียนโดย ภู่มณี ศิริพรไพบูลย์
ฉากหลังของนวนิยายสั้น ช่องว่างระหว่างความหมาย เขียนโดย ภู่มณีศิริพรไพบูลย์ นวนิยายเรื่องนี้เกิดในยุค 2000’S การศึกษาของเด็กมัธยมปลายต้องสอบเอนทรานซ์เข้ามหาวิทยาลัย แต่ ‘มิว สุขสวัสดิ์’ เด็กต่างจังหวัดกลับต้องพบและเผชิญชีวิตทั้งในและนอกห้องเรียน ถูกแวดล้อมด้วยเรื่องบูลลี่ ความรัก ความรับผิดชอบในตัวเอง ความเป็นสุภาพบุรุษ มีบทเพลง ภาพยนตร์ กับช่วงเวลาสร้างแรงบันดาลใจเข้ามาเชื่อมโยง ตลอดจนข่าวสาร การเมือง และเหตุการณ์สำคัญของโลกที่ถูกบันทึกไว้ในทรงจำส่วนตัว ล้วนเป็นทั้งข้อมูลและมีอิทธิพลต่อความคิดให้เด็กคนหนึ่งเริ่มต้นแสวงหา เลือกเส้นทางเดินของชีวิต จนค้นพบตัวตน ความหมายที่ซ่อนอยู่ระหว่างบรรทัดและบทสนทนา
มิว สุขสวัสดิ์ ในวัยมัธยมปลายกำลังบอกเล่าที่มาที่ไป พาย้อนรำลึกถึงเรื่องราวที่ก้าวไปสู่การเปลี่ยนผ่านกับโมงยามความสัมพันธ์ โดยมีครอบครัว เพื่อน โรงเรียน และประสบการณ์ประหลาด ตลก น่าหมั่นไส้ ซึ่งช่วยหลอมรวมคนคนหนึ่งให้เติบโตเป็นคนเจนวายอย่างในปัจจุบัน
สังซื้อหนังสือ เม่นวรรณกรรม ลาซาด้า
3. มานีไม่ใช่คนตระหนี่ แต่หนี้ที่เธอไม่ได้ก่อครั้งนี้ ไม่สามารถหนีได้ เขียนโดย นวกานต์ ราชานาค
นักเขียนรุ่นใหม่น่าจับตามอง นวกานต์ ราชานาค หยิบเอาเศษซากของเหตุการณ์จริงในช่วงเวลาดังกล่าวมาเป็นแรงบันดาลใจ ผ่านสำนวนภาษาอันเรียบง่ายที่ถูกเล่าแบบกระชับผ่านเรื่องหลากแนว ทั้งเรื่องเหนือธรรมชาติ, วิทยาศาสตร์, อาชญากรรม, ปรัชญา, ความรัก, หักมุม
‘มานีไม่ใช่คนตระหนี่ แต่หนี้ที่เธอไม่ได้ก่อครั้งนี้ ไม่สามารถหนีได้’ คือเรื่องสั้นที่ถูกเลือกมาเป็นชื่อหนังสือ เพราะนอกจากเรื่องราวที่เริ่มตั้งแต่การสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ ปี พ.ศ. 2553 จนถึงการระบาดของโควิดระลอกที่หกในปี พ.ศ. 2565 ซึ่งครอบคลุมช่วงเวลาในการเขียนทุกเรื่องในเล่มนี้ ในเรื่องสั้นชุดนี้ นวกานต์ ราชานาค หยิบเหตุการณ์การเมืองไทยในยุครัฐประหาร 2 ครั้งล่าสุดมาเล่าเป็นเรื่องสั้น โดยเปรียบเทียบกับชีวิตตัวละครที่ชื่อมานี (เขาให้เธอมีอายุประมาณ 50 ปี ในปี พ.ศ. 2565 อ้างอิงตัวละครมานีในแบบเรียน ที่มีอายุประมาณ 6-7 ปี เมื่อปรากฏครั้งแรกในปี พ.ศ. 2521) เธอต้องรับกรรมจากสิ่งที่ไม่ได้เลือกที่จะก่อ แต่ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ ราวกับว่ามันเป็นกฏเกณฑ์ประหลาดที่พบได้เฉพาะในประเทศนี้
มันยังมีประเด็นสำคัญที่ว่าด้วยผลกระทบจากสองอิทธิพลสำคัญในยุคปัจจุบัน นั่นก็คือ ‘รัฐประหาร’ และ ‘โควิด’ ที่กระทบไปถึงทุกผู้คน แม้พวกเขาเหล่านั้นอาจจะไม่ได้มีส่วนร่วมกับมันเลย ราวกับเป็นการชดใช้หนี้กรรมที่ไม่ได้ก่อ แต่ก็ไม่สามารถหลีกหนีได้พ้น ซึ่งนี่เป็นบรรยากาศโดยรวมของเรื่องสั้นหลายเรื่องในเล่ม
นอกจากนี้ยังมีเรื่องสั้นอื่นๆ ที่หยิบยกเอาบางแง่มุมของสังคมในช่วงเวลาเหล่านี้มารวมอยู่ด้วย
รวมเรื่องสั้นเล่มนี้ น่าจะสะท้อนภาพของสังคมไทยภายใต้อำนาจรัฐประหารและการแพร่ระบาดของโควิดในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาได้ไม่มากก็น้อย
หลังงานหนังสือสั่งซื้อได้ที่ ฟาธอมป์
4. The Blues Cheaters เจ้าชายผู้โกงทุกข์ เขียนโดย รัศม์ ชาญสงคราม
เป็นนิยายเล่มแรกในชีวิตของ “รัศม์ ชาญสงคราม” หรือ นายรัศม์ ชาลีจันทร์ อดีตทูตหลายประเทศ ชื่อของเขาโดดเด่นออกมาหลังจากเขาตัดสินใจเปิดเพจ ‘ทูตนอกแถว The Alternative Ambassador’ ทางเฟซบุ๊ก บอกเล่าทั้งประสบการณ์การทำงาน แถมด้วย ‘คอมเมนต์’ อันเผ็ดร้อน ต่อการเมืองระหว่างประเทศ และการเมืองไทย ไม่บ่อยนักที่คนระดับอดีตเอกอัครราชทูต อดีตข้าราชการระดับสูงของกระทรวงการต่างประเทศ จะเลือกเส้นทางนี้ เพื่อแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา โดยไม่สนใจ ‘หัวโขน’ เดิม แน่นอนว่า เขาเลือกสนับสนุนการต่อสู้ของ ‘คนรุ่นใหม่’ และ 3 ข้อเรียกร้องที่อาจเปลี่ยนประวัติศาสตร์ประเทศไทยไปตลอดกาล
“ถ้าถามผมนะ ผมอายุ 60 ปี ผมว่าช่วงนี้เลวร้ายที่สุดแล้ว” อดีตเอกอัครราชทูตไทยหลายประเทศยอมรับ ที่น่าสนใจเขาเขียนนิยายเรื่องแรก
นิยายเรื่อง The Blues Cheaters เจ้าชายผู้โกงทุกข์ เล่มนี้ บอกเล่าเรื่องราวการพิสูจน์ศรัทธา การค้นหาความหมายของชีวิต และการเยียวยาบาดแผลในใจของ “อันเช ลิบอนสกี” ชายชาวโปแลนด์ผู้หนีทุกข์มายังประเทศไทยและตัดสินใจจะจบชีวิตให้พ้นทุกข์ ก่อนจะได้เจอกับเด็กชายลึกลับผู้อ้างว่าตัวเองคือพระเจ้า
เรื่องราวของ “อันเช ลิบอนสกี” ชายชาวโปแลนด์ผู้หนีทุกข์มายังประเทศไทยและตัดสินใจจะจบชีวิตด้วยการฆ่าตัวตาย แต่เขาได้พบกับเด็กชายลึกลับผู้อ้างว่าตัวเองคือพระเจ้า และดำเนินไปสู่เรื่องราวมากมายที่ตัวเขาเองก็ไม่เชื่อว่าจะเกิดขึ้นจริงๆ
5. รักในลวง เขียนโดย จิรัฏฐ์ ประเสริฐทรัพย์
จิรัฏฐ์ ประเสริฐทรัพย์ เป็นนักเขียนที่วิพากษ์วิจารณ์สังคมและการเมืองในแบบเสียดสีได้อย่างลุ่มลึก เขามักจะใช้เหตุการณ์ ตัวละคร และภาษาเพื่อนำพาผู้อ่านไปสู่จุดหมาย รวมเรื่องสั้นเล่มนี้เป็นอีกเล่มที่เขาเรื่องสั้นวิพากษ์สังคมลวงที่เราทุกคนต่างก็รู้ แต่ไม่สามารถพูดได้ เขาหยิบจับสถานการณ์ ชีวิตประจำวันที่แสนปกติมาทำให้เรื่องเล่าของเขากลายเป็นเรื่องหยิกกัดในจุดที่คัน แต่เกาไม่ถึง
สำหรับจิรัฐ เขาพูดถึงสิทธิเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์บุคคลการเมือง หรือบุคคลสาธารณะ “เราเชื่อเรื่องเสรีภาพในการพูด แต่เราไม่ไปเบลมคนที่เขารัก มันเป็นสิทธิของเราที่จะตั้งคำถาม มันควรจะเป็นเรื่องสามัญมากๆ ที่เราจะทำแบบนี้ ยิ่งการเป็นคนสาธารณะที่มีส่วนต่อคุณภาพชีวิตเรา เราก็ต้องพูด แล้วก็เห็นอยู่ว่าควรต้องพูด ไม่ควรเงียบ”
รักในลวง รวมเรื่องสั้น 10 เรื่อง ที่ชวนหลอน สยอง และเสียดสีสังคม การเมืองแกมหยิกหยอกแบบเอาจริง อาจตบท้ายด้วยเสียงหัวเราะขื่นที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกบอกไม่ถูก
6. โนอาห์แห่งความทรงจำ เขียนโดย อ้อมแก้ว กัลยาณพงศ์
รวมเรื่องสั้น โนอาห์แห่งความทรงจำ โดย อ้อมแก้ว กัลยาณพงศ์ จะพาเราออกเดินทางและดำดิ่งลงไปในห้วงทรงจำยากจะลบเลือน ผ่านเรื่องราวของ “ยี่หก” หญิงสาวที่ติดอยู่ในฝันร้ายของความทรงจำและใจกลางระหว่างความต้องการที่จะจดจำและหลงลืม
ในโลกอนาคตที่แทบทุกข้อจำกัดถูกทำลายลงแล้วด้วยใจหาญกล้าทะเยอทะยานของมนุษย์ ในยุคสมัยที่เทคโนโลยีน่าทึ่งและนวัตกรรมล้ำยุคเสกสรรทุกอย่างให้เป็นจริงได้ดังฝัน ปัญญาประดิษฐ์กลายเป็นเพื่อนมนุษย์อีกคนหนึ่งที่เราจะพบเจอได้ในทุกหัวมุมถนน ในยุคที่ทุกอย่างทะยานไปข้างหน้า พร้อมพามนุษย์ก้าวไปแตะขอบฟ้าใหม่ ทว่าบาดแผลตกค้างจากยุคสมัยที่ผ่านพ้นไปยังคงดำรงอยู่อย่างแนบแน่นในจิตวิญญาณและความทรงจำ
จะเป็นอย่างไรถ้าเราสามารถพาให้ความทรงจำเหล่านั้นจากไปอย่างไม่มีวันหวนคืน…