บทสนทนาที่สมจริงสามารถสร้างเรื่องราวในนวนิยายให้ดำเนินไปได้จากต้นจนจบเรื่อง เหมือนที่เชคสเปียร์ทำให้ผู้อ่านประจักษ์แจ้งมาแล้วจากบทละครของเขา เรื่องราวทั้งหมดสามารถเล่าผ่าน บทสนทนาที่สมจริง และเป็นจริง หลายคนกำลังคิดว่า “พูดง่ายกว่าทำ” อะไรที่ทำให้การเขียน บทพูดคุยของตัวละคร เป็นเรื่องยากที่จะทำออกมาให้ดี บทความนี้ จะนำเสนอเคล็ดลับ วิธีเขียนบทสนทนา ที่สมจริง จาก 16 ข้อสังเกตที่จะช่วยให้การเขียนบทพูดในชีวิตประจำวันเปลี่ยนมาเป็นบทสนทนาในนวนิยายได้อย่างเนียนๆ
วิธีเขียน บทพูดที่สมจริง เป็นทักษะอย่างหนึ่ง
ในนวนิยายเรื่องหนึ่ง นักเขียนอาจจะใช้บทพูดที่ไม่ดี ไม่ปะติดปะต่อ การคุยกันที่ไม่จำเป็นในต้นฉบับที่ตนเขียน วิธีการเขียนธรรมดาๆ สามารถดึงดูดผู้อ่านและส่งผลกระทบต่อโครงเรื่องอย่างมาก อันนั้นอาจจะจริง
ตอนที่ฉันเริ่มทำงานเขียนอย่างจริงจัง ฉันชอบเข้าไปนั่งในร้านกาแฟ เพื่อนๆ มักถามฉันว่าเธอเข้าไปทำอะไร ในเมื่อฉันไม่ได้ชอบเจอผู้คนเยอะๆ หรือสถานที่พุกพล่าน ฉันขอสารภาพว่าเข้าไปแอบฟังบทสนทนาในชีวิตจริง และจดทุกอย่างที่ผู้คนพูด สิ่งนี้ช่วยให้ฉันเริ่มเข้าใจว่าคำพูดแบบคนปกติทำงานอย่างไร แต่ยังไม่เพียงพอ
ก่อนที่ฉันจะเขียนบทพูดได้ดี ฉันต้องถามว่าทำไมบทสนทนาทั่วไปถึงมีความสำคัญ
วิธีเขียนบทสนทนาในชีวิตประจำวัน
ทำไมคนนี้ถึงพูดแบบนี้? ทำไมคนนั้นตอบแบบนั้น พวกเขาสื่อสารเรื่องนี้ได้อย่างไร พวกเขาเริ่มต้นอย่างไร
ฉันแอบฟังการพูดเป็นเวลาหลายเดือน มันค่อนข้างน่าขนลุกเล็กน้อย แต่มันสอนฉันมากมายเกี่ยวกับวิธีการทำงานของบทพูดจริงๆ และวิธีที่ฉันสามารถสร้างแรงบันดาลใจจากบทสนทนาให้เป็นธรรมชาติ และนำไปใช้ในงานเขียนเชิงสร้างสรรค์ ทีนี้เรามาดูกันนะคะว่า บทพูดที่ดูสมจริงในงานเขียนมีแบบไหนบ้าง
1. มนุษย์จริงๆ เลือกพูดแบบสุ่ม
ในฐานะนักเขียน เราต้องการให้ตัวละครพูดถึงประเด็นสำคัญในโครงเรื่อง แต่มนุษย์นั้นแปลกกว่าที่คิด ในการสนทนาจริงๆ ผู้คนจะไม่พูดถึงสิ่งสำคัญ มากไปกว่านั้นพวกเขาพูดถึงเรื่องธรรมดาของโลกเหมือนพูดคุยปกติในเรื่องสภาพดินฟ้าอากาศทั่วไป
ในการเขียน ถ้าต้องการทำให้เนียนโดยไม่สูญเสียเนื้อเรื่องที่วางแผนเอาไว้ ตัวละครควรพูดเกี่ยวกับบางสิ่งแบบเลือกสุ่ม แล้วค่อยวนอ้อมเข้าไปในส่วนเนื้อหาที่สำคัญที่วางแผนเอาไว้
ตัวอย่าง: “เธอดูเบลอร์ๆ นะ แล้วแม่อาการดีขึ้นยัง”
2. คนจริงๆ มักโต้เถียงกัน
ฉันเข้าใจว่าคนบางคนทำตัวดีต่อกันตลอดเวลาเสมอ แต่จากประสบการณ์ ยิ่งคนที่อยู่ใกล้ชิดกันมากเท่าไหร่ เรายิ่งทะเลาะกันมากขึ้นเท่านั้น
อันที่จริง การทะเลาะเบาะแว้งอาจกลายเป็นส่วนหนึ่งของบทพูดคุยในชีวิตประจำวัน ซึ่งมันเป็นเช่นนั้น
การทะเลาะวิวาทอาจไม่พัฒนาจนกลายเป็นการโต้เถียงอย่างเต็มที่ มันเหมือนกับเพิ่มความตึงเครียดอย่างต่อเนื่อง
ในขณะที่การทะเลาะเบาะแว้งสามารถเพิ่มความตึงเครียดให้กับฉากในนวนิยาย ทำให้แน่ใจว่าตัวละครไม่ได้ทะเลาะกันเพียงเพราะว่า การใช้บทสนทนาเหล่านี้ในเนื้อเรื่อง แต่บทสนทนาสามารถสร้างผลกระทบต่อโครงเรื่องหรือพัฒนาลักษณะนิสัยของตัวละครได้
ตัวอย่าง: “หยุดฟังกันบ้าง ถ้าทำแบบนี้บ่อยๆ จะไม่มีใครคบ”
3. ส่วนใหญ่ไม่ใครพูดคนเดียวประโยคยาวๆ
ฉันรู้ว่านักเขียนต้องการอวดทักษะการเขียนที่ยอดเยี่ยมด้วยสุนทรพจน์ยาวๆ แต่ในสถานการณ์ปกติ คนจริงๆ ไม่ชอบการพูดในแบบสุนทรพจน์ พวกเขารู้สึกอึดอัดเมื่อต้องพูดคนเดียวเป็นเวลานาน
หากต้องการเขียนบทพูดแบบยาวๆ ต้องสร้างภาวะให้กับตัวละครเพื่อทำให้พวกเขากล่าวสุนทรพจน์ บางทีพวกเขาเพิ่งได้รับรางวัล กำลังจะเดินทางไกล กำลังจะตายและต้องการแบ่งปันคำพูดสุดท้าย
ถ้าจำเป็นต้องเขียนบทพูดเป็นสุนทรพจน์ยาวๆ ทำให้แน่ใจว่าไม่ได้เขียนบทสนทนาเพียงอย่างเดียว ในขณะที่สุนทรพจน์ยาวๆ อาจใช้ได้ผลในบทภาพยนตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากบทพูดเหล่านี้เขียนโดยอัจฉริยะด้านบทสนทนาอย่างแอรอน ซอร์กิ้น หนังสือทำได้ดีกว่านั้นด้วยการบรรยายการกระทำแทนสุนทรพจน์ยาวๆ
4. ผู้คนในชีวิตจริงมักไม่ได้ยินเสียง
คนจริงๆ มักหูหนวกเสมอ พวกเขาจะไม่ได้ยินอะไรที่พูดออกไป และมักจะต้องถามซ้ำกลับมา เหมือนมีเครื่องตัดหญ้าวิ่งผ่านพวกเขาในระหว่างการสนทนา คนจริงพูดว่า “นั่นอะไรน่ะ? หือ? พูดอะไร? มากี่ครั้ง? ขอโทษเรื่องอะไร?”
เรื่องราวในนวนิยาย นักเขียนสามารถสร้างความตึงเครียดด้วยการให้ตัวละครบางตัวถามคำถาม และอาจปล่อยให้พวกเขามีคำถามที่ยังไม่ได้รับคำตอบ
การสนทนาผ่านข้อความย่อยอาจมีประสิทธิภาพพอๆ กับการพูดจริงๆ และการทำให้ตัวละครถามคำถามสามารถดึงดูดความสนใจของผู้อ่านไปสู่ส่วนสำคัญของข้อมูล บทพูดที่แท้จริงเต็มไปด้วยข้อความที่ไม่ได้พูดเหล่านี้
5. คนจริงๆ ปฏิเสธที่จะพูดซ้ำ
บางครั้งเมื่ออีกฝ่ายไม่ได้ยินและพูดว่า “หือ? คุณพูดอะไร?” คนจริงไม่พูดซ้ำ พวกเขาพูดว่า “ไม่มีอะไร ไม่สำคัญ ช่างเถอะ ฉันจะบอกคุณทีหลัง ไม่เป็นไร”
บางครั้งสิ่งนี้นำไปสู่การทะเลาะวิวาท หรือความเงียบที่น่าอึดอัดใจ
เทคนิคนี้ใช้ได้ผลอย่างยิ่งหากตัวละครเพิ่งพูดอะไรที่เปราะบาง ผู้คนจะไม่ค่อยพูดสิ่งที่น่าอาย ทำร้ายจิตใจ หรือหยาบคายซ้ำอีก นักเขียนสามารถดึงความสนใจไปที่ความเปราะบางของพวกเขา โดยให้พวกเขาปฏิเสธที่จะพูดซ้ำ
ตัวอย่าง:
“เมื่อวานเห็นกระเป๋าตั้งอยู่ตรงนี้ มันหายไปไหน”
“เธอว่าอะไรนะ”
“ช่างมันเถอะไม่สำคัญหรอก”
6. มนุษย์ส่วนใหญ่จะไม่ตอบ
บางครั้ง บางคนจะพูดประมาณว่า “วันนี้เป็นวันที่ฟ้าสวยมาก” แล้วรอให้อีกฝ่ายตอบกลับมา โดยปกติแล้ว อีกฝ่ายจะพูดว่า “ใช่ สวยมากใช่ไหม” แต่บางครั้งอีกฝ่ายก็ไม่ตอบอะไร พวกเขาแค่ทำเสียงฮึดฮัดหรือกลอกตาหรือมองออกไปนอกหน้าต่าง
ผู้คนเรียนรู้วิธีการทำเช่นนี้ตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่น และเป็นวิธีที่ดีในการแสดงความตึงเครียดที่ซ่อนอยู่
7. คนจริงๆ เรียกชื่อเล่น
ไม่มีใครเรียกฉันด้วยชื่อ และนามสกุล ดังนั้นอย่าใช้ชื่อเต็มในบทสนทนา
บางทีคุณอาจต้องการแนะนำตัวละครด้วยชื่อและนามสกุลในช่วงต้นของหนังสือพร้อมคำอธิบาย แต่หลังจากนั้น ให้วางใจได้ ผู้อ่านจะรู้ว่าเขาเป็นใคร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตัวละครอื่นๆ อีกมากก็เช่นกัน พวกเขาจะไม่เรียกด้วยชื่อที่เป็นทางการ เว้นแต่จะเป็นลักษณะเฉพาะที่บ่งบอกถึงประเภทของบุคคลที่ตัวละครเป็น
8. คนชอบสบถ สาปแช่ง สาบาน
บางคนอ่อนไหวต่อคำสาปแช่งมาก และฉันก็เข้าใจ แต่คนจริงๆ มักจะใส่คำสบถตลอดการพูด และถ้าต้องการเขียนให้สมจริง ต้องคิดอย่างจริงจังเกี่ยวกับการแทรกคำสบถเป็นครั้งคราวในบทพูดคุย ถ้ามันเหมาะกับตัวละครและสถานการณ์นั้นๆ
แน่นอน จะต้องตระหนักถึงประเภทนวนิยายที่เขียนและตลาดของหนังสือ หากตัวละครของใช้คำหยาบคายในนวนิบายเยาวชน หรือนวนิยายรักโรแมนติก บางครั้งการทำให้ตัวละครมีชีวิตหมายถึงการแสดงรูปแบบภาษาที่มีสีสัน ซึ่งสะท้อนถึงประสบการณ์ชีวิตของพวกเขา
ตัวอย่าง: “แมร่งขับรถไม่ดูถนนเลยไอ้สาดดด#$#@”
9. คนจริงมักไม่พูดตามหลักไวยากรณ์
บทสนทนาต้องการไวยากรณ์ที่เหมาะสม แต่ไม่ใช่เรื่องแปลกที่ประโยคไม่สมบูรณ์จะเกิดขึ้นในคำพูดชีวิตประจำวัน ปล่อยให้กฎไวยากรณ์เป็นไปตามที่แนวการเขียนแต่ไม่ถึงกับต้องทำตจามไวยากรณ์เป๊ะๆ
10. มนุษย์สูญเสียเวลาและสภาพแวดล้อมเมื่อพูด
อย่าแทรกบทพูดด้วยคำอธิบายหรือการกระทำมากมาย ตัวละครไม่สังเกตเห็นสิ่งที่พวกเขากำลังทำหรือสิ่งที่พวกเขาเห็น เมื่อพวกเขากำลังให้ความสนใจกับการคุยกัน หากนักเขียนกำลังใช้มุมมอง (POV) แบบใดก็ตาม (เช่น บุคคลที่สามจำกัดมุมมอง) คำบรรยายควรสอดคล้องกับบทพูดด้วย
ตัวอย่าง: “วันนี้ไม่ไปไหนหรือ” เขากวาดตามองไปรอบห้อง ขณะที่คู่สนทนาอยู่ในอาการกระอักกระอ่วน
11. คนจริงพูดเกินจริง
คนจริงไม่พูดความจริงทั้งหมดและไม่มีอะไรนอกจากความจริง ขณะเดียวกันพวกเขาไม่ได้โกหกเช่นกัน สิ่งที่พวกเขาพูดเป็นเพียงแค่ปล่อยวางและการพูดเกินจริงเพื่อทำให้ตัวเองดูดีขึ้น มันอาจจะเป็นเรื่องน่าสงสัยทางศีลธรรม แต่มันเป็นเรื่องของมนุษย์ (เรากำลังเขียนเกี่ยวกับมนุษย์ใช่ไหม)
12. คนจริงบอกเล่าเรื่องราว
ครั้งเดียวที่สามารถเขียนสุนทรพจน์ยาวๆ ได้คือ เมื่อตัวละครกำลังเล่าเรื่องราว คนชอบเล่าเรื่องโดยเฉพาะเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเอง บางครั้งผู้คนจะฟังพวกเขาด้วยความตั้งอกตั้งใจ
วิลเลียม ฟอล์คเนอร์, โจเซฟ คอนราด ผู้เขียนอาหรับราตรี และคนอื่นๆ อีกหลายคนใช้ประโยชน์จากเทคนิควรรณกรรมในแบบ Story Inside a Story ตัวอย่างเช่น นวนิยายเรื่อง Heart of Darkness ตัวเรื่องทั้งหมดเป็นบทพูดคนเดียวยาวๆ เกี่ยวกับประสบการณ์การเดินทางของกะลาสี (อันที่จริง มันเป็นบทพูดคนเดียวเกี่ยวกับบทพูดคนเดียว)
ผู้เล่าเรื่องอาหรับราตรีส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงที่เล่าเรื่องราวให้สามีผู้ฆ่าเธอฟัง บ่อยครั้งในสถานการณ์เหล่านี้ ผู้เขียนทำให้เราลืมไปว่าเรากำลังอ่านบทสนทนาอยู่ ทั้งหมดเป็นการเล่าเรื่องที่เก่าแก่ นานๆ ครั้งจะมีตัวละครอื่นมาพูดและเตือนเราว่านี่คือการสนทนา
13. คนจริงๆ มีสำเนียง (เสียงเหน่อ)
ต้องระลึกเอาไว้ว่าการเขียนด้วยสำเนียงอาจทำให้อ่านรู้สึกลำบากมากในการจะเข้าใจ ไม่ต้องพูดถึงการเสียสมาธิ อาจเป็นเรื่องยากที่จะคงเส้นคงวาและป้องกันไม่ให้ตัวละครกลายเป็นภาพล้อเลียน
ทดลองสำเนียงได้ตามใจ แต่ไม่ต้องแปลกใจหากผู้อ่านไม่ชอบ (และควรศึกษาตัวอย่างบทสนทนาที่เขียนในลักษณะนี้เอาไว้มากๆ) โปรดใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษหากกำลังวาดภาพรูปแบบการพูดนอกวัฒนธรรมที่เราไม่คุ้นเคย
14. เมื่อคนจริงพูด จะไม่มีใครฟัง
แม้ว่าผู้คนจะไม่ตอบกลับ แต่คนจริงๆ ก็ยังคงพูดต่อไป นี่เป็นวิธีที่ดีในการแสดงความรำคาญ หากตัวละครกำลังสั่งสอนใครบางคน หรือรู้สึกไม่ปลอดภัย ถ้าพวกเขาทนเสียงแห่งความเงียบไม่ได้ หรือรู้สึกงกๆ เงิ่นๆ จนน่าอึดอัดใจ พวกเขาไม่สามารถเข้าใจความหมายทางสังคมได้
15. บางครั้งคนจริงไม่พูดเลย
บางทีคนจริงๆ ก็บ้าเกินไป ประหม่าเกินไป หรือบูดบึ้งเกินไป วัยรุ่นมีลักษณะการพูดที่แตกต่างออกไป ถ้าตัวละครไม่ต้องการที่จะพูด อย่าทำให้พวกเขาพูด ในบางครั้งภาษากายและความเงียบสามารถสื่อสารได้ดีพอๆ กัน
16. คนจริงๆ พูดน้อยกว่าที่พวกเขารู้สึก
ท้ายที่สุดแล้ว บทสนทนาที่เป็นธรรมชาติไม่ใช่เครื่องมือที่ดีที่สุดสำหรับการพัฒนาโครงเรื่อง เพราะคนจริงๆ คาดเดาไม่ได้ ไม่ค่อยพูดเรื่องใกล้ตัว พวกเขาไม่ค่อยพูดถึงความเปราะบางของตัวเอง พวกเขามักจะพูดถึงเรื่องผิวเผินและไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่อง
คนจริงพูดน้อย ซึ่งทำให้ยากมากที่จะรับอารมณ์ความรู้สึกและการเปลี่ยนแปลงของตัวละครผ่านบทสนทนาที่ต้องสวมบทบาท
กุญแจสำคัญคือการทำให้ตัวละครตกอยู่ในสถานการณ์ที่แตกสลาย สิ้นเนื้อประดาตัว แย่จนพูดอะไรไม่ออก และบางทีนั่นอาจเป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงอ่านนิยายเพื่อฟังผู้คนพูดถึงสิ่งที่อยู่ในใจของพวกเขา
นี่คือ 16 ข้อสังเกตเกี่ยวกับการเขียนบทสนทนา ถ้าหากผู้อ่านมีอะไรแลกเปลี่ยน สามารถเขียนได้ในคอมเม้นต์นะคะ