Table of Contents
สวัสดีค่ะท่านผู้อ่าน คอลัมนี้มิลอยากนำเสนอบทความที่จะทำให้ผู้อ่านทำลายกองดองได้อย่างรวดเร็ว นั่นหมายความว่าจะมีหนังสือในกองกี่ร้อยเล่มเราจะมี วิธีอ่านหนังสือ ให้จบได้โดยอ่านรู้เรื่อง จดจำได้ และนำไปใช้งานเช่นการเขียน ไม่ว่าจะทำรายงาน สรุปย่อ ไม่ใช่เพียงอ่านเฉยๆ แล้วผ่านไปนะคะลองมาดูว่า เคล็ดลับในการอ่าน มีอะไรบ้างไปดูกันค่ะ
1 อาจจะต้องอ่านหลายเล่มพร้อมกัน
การอ่านหนังสือ 2-3 เล่ม พร้อมกัน ไม่ว่าจะในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกัน หรือดูไม่เกี่ยวกันเลย บางครั้ง ก็ทำให้เรามีแบบแผนของความความคิดสร้างขึ้นมาในหัว ซึ่งช่วยให้เราต่อยอดหนังสือในแต่ละเล่มออกมาได้ ประโยชน์อีกประการหนึ่งก็คือ มันจะทำให้เรามีความหลากหลายในการอ่าน บางครั้งเล่มนึงกำลังมาถึงจุดน่าเบื่อ เราสามารถอ่านอีกเล่มได้ในทันที ดังนั้นการติดหนังสือเอาไว้กับตัวสองสามเล่มทั้งในกระเป๋า หรือบนหัวนอนทำให้เราเลือกได้ว่าวันนี้จะอ่านอะไร อารมณ์แบบไหนที่จะอ่านหนังสือแนวไหน ผู้อ่านลองทำตามวิธีนี้ดูนะคะ
บางทีอาจจะเลือกประเภทวรรณกรรมหลายๆ แบบ เช่นแนวสังคม คู่กับรหัสคดี หรือเนวรักกับบทกวี บทความสารคดี กับนวนิยายแปลเกาหลีที่สร้างแรงบันดาลใจ การ Mix ไม่จำเป็นต้อง Match แต่ต้องการการอ่านที่สามารถนำพาเราไปได้ ตัวอย่างเช่น อย่าอ่านโมบี้ดิก กับ พี่น้องคารามาซอฟ ไปพร้อมๆ กัน เพราะสองเรื่องนี้นอกจากจะทำให้ผู้อ่านมึนแล้ว อาจจะทำให้ไม่อ่านหนังสือทั้งสองเล่มนี้เลยก็ได้ ลองหารายชื่อหนังสือที่น่าจะสนุก การอ่านไม่จำเป็นต้องซีเรียส มีนวนิยายสนุกๆ ที่น่าอ่านมากมาย หรือนวนิยายไซไฟที่ตื่นเต้นเร้าใจก็จับคู่กับวรรณกรรมได้
2 อ่านในหลายฟอร์แมต
เป็นหนังสือเล่มจริงๆ บ้าง ซื้อมาเป็นกองๆ อยู่แล้ว – อ่านอีบุ๊กบ้าง – อ่านบทความในมือถือบ้าง มีคนอ่านหนังสือในมือถือจบเยอะมากเลยนะคะ! เพื่อกลบข้ออ้างที่ว่า “ไม่มีเวลาอ่านหนังสือ” หรือถ้าคิดว่าไม่มีเวลาจริงๆ ก็ลองใช้วิธีฟังออดิโอบุ๊กแทนก็ได้ แต่สำหรับมิล เวลาฟังออดิโอบุ๊กแล้วจะจำไม่ค่อยได้! จริงๆ แล้วมือถือนี่แหละทำให้เราอ่านอะไรได้เร็วขึ้นมาก โดยเฉพาะนวนิยายที่มีเนื้อหาไม่ซับซ้อน หรือพวกข่าวสั้นๆ
3 อ่านสารบัญก่อนอ่าน หรืออ่านก่อนอ่าน
ไม่งงนะคะว่าอ่านก่อนอ่านคืออะไร เดี๋ยวเราไปอธิบายกัน
หลังๆ ถ้าจะอ่านหนังสือ “เพื่อไปใช้งาน” เช่น เขียนคอลัมน์หรืออ่านเพื่อเอาข้อคิด เอาความรู้บางอย่าง วิธีที่เวิร์กมากวิธีนึงคืออ่านสารบัญก่อน เพื่อดูว่าสิ่งที่เราต้องการรู้มันอยู่ตรงไหน หรือหนังสือเล่มนี้มีวิธีเขียนอย่างไร เช่น อาจจะเขียนโดยเอาปัญหาขึ้นก่อน แล้วบอกว่าปัญหานั้นสำคัญอย่างไร ค่อยไปหาทางแก้ตอนหลังของหนังสือ
เช่นเดียวกับบทความของเรา เราจะมีสารบัญ หรือ Table of contents เพื่อทำให้ผู้อ่านประหยัดเวลา อย่างน้อยก็สามารถสแกนคร่าวๆ ได้ว่าเราจะอ่านอะไรตรงไหนก่อน
อีกวิธีหนึ่งคือใช้วิธี pre-read คืออ่านแบบข้ามๆ ก่อนหนึ่งครั้ง เพื่อที่ว่า “อย่างน้อยก็อ่านจบแล้วนะ” เหมือนสำรวจแผนที่แบบคร่าวๆ แล้วค่อยอ่านจริงจังอีกครั้ง จะได้กำหนดความเร็วในการอ่านแต่ละบทให้ถูก ต้องเช่น ถ้ารู้ว่าตอนไหนผู้เขียนเริ่มเยิ่นเย้อ พูดเกี่ยวกับตัวเองมากเกินไปโดยอาจไม่เกี่ยวกับเนื้อหาก็จะได้อ่านเร็วๆ อ่านข้ามๆ นี่แหละค่ะคืออ่านก่อนอ่าน ไม่ต้องห่วงแบบนี้มีเยอะจากนักเขียนทั่วโลก จากนักเขียนดังๆ ทำกันทั้งนั้นไม่ต้องห่วงว่าเราจะพลาดอะไรไป ถ้าพลาดไปจริงๆ ค่อยกลับมาอ่านซ้ำ
4 เขียนเกี่ยวกับสิ่งที่อ่าน
จริงๆ เป็นวิธีที่เหมือนตอนเด็กเลยค่ะ แต่พอโตมา ก็ยังพบว่ายังใช้ได้อยู่ คือการเขียนสิ่งที่จำได้หลังอ่านจบ อาจจะเขียนในทันที หรืออาจจะรอให้หนังสือมันฝังเข้าไปในสมองก่อนค่อยเขียนก็ได้ เช่น หลังอ่านจบไปแล้ว 2 วัน พอได้รำลึกว่า “อะไรที่ยังอยู่กับเราหลังอ่านจบ” สิ่งนั้นก็จะอยู่กับเรานานขึ้นเมื่อเขียน
วิธีที่ดีที่สุดหลังอ่าน สักสองสามวันลองเขียนบันทึกถึงสิ่งที่อ่านจบ อาจจะเป็นโน๊ตสั้นๆ ว่าเรื่องนี้เกี่ยวกับอะไร ชอบตรงไหน ไม่ชอบตอนใด หรือมีโควตที่น่าจดจำในหน้าไหนบ้าง เวลาบันทึกแบบนี้เวลากลับมาอ่านนอกจากช่วยให้เราจำหนังสือเล่มนั้นๆ ได้ดีขึ้นแล้ว ยังช่วยให้เราเห็นความคิดของตัวเองว่าเติบโตแค่ไหน เวลากลับไปอ่านโน๊ตบางทีเราอาจจะมองว่า โห โควตนี้ ตอนนั้นคิดอะไรหว่าทำไมถึงจดลงในบันทึกเลยหรือ
อย่าเสียเวลากับหนังสือที่อ่านแล้วไม่ชอบ เพราะบางครั้งเราก็ไม่รู้ว่าหน้าปกน่าสนใจ ชื่อเรื่องชวนน่าอ่าน คนเขียนก็ไม่ธรรมดา สำนักพิมพ์ก็รสนิยมดี แต่การอ่านเป็นเรื่องส่วนบุคคล
5 ไม่ต้องอ่านหนังสือที่รู้สึกว่า “น่าเบื่อ” ให้จบ
ตรงนี้แล้วแต่คน บางคนบอกว่าหนังสือที่น่าเบื่อก็อาจให้ความรู้ในเรื่องใหม่ๆ กับเรา หรืออาจทำให้เราอดทนมากขึ้น ฯลฯ แต่วิธีหนึ่งที่รู้สึกว่าเป็นการใช้เวลาได้อย่างคุ้มค่า หลังๆ มา คือถ้ารู้สึกว่าหนังสือเล่มนั้นน่าเบื่อ แต่หัวข้อที่พูดน่าสนใจ ก็อาจจะไปถามคนที่เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ ว่า ในหัวข้อนี้ หนังสือที่พูดได้ดีที่สุดคือเล่มไหน หรือใช้วิธีดูรีวิวจาก Amazon หรือ Goodreads เอา เพื่อหาเล่มที่อธิบายเรื่องเดียวกันได้ดีกว่า อัพเดทกว่า หรือลึกกว่า
อย่าเสียเวลากับหนังสือที่อ่านแล้วไม่ชอบ เพราะบางครั้งเราก็ไม่รู้ว่าหน้าปกน่าสนใจ ชื่อเรื่องชวนน่าอ่าน คนเขียนก็ไม่ธรรมดา สำนักพิมพ์ก็รสนิยมดี แต่การอ่านเป็นเรื่องส่วนบุคคล ความชอบแต่ละคนไม่เท่ากัน มิลคิดว่าเรื่องพวกนี้แล้วแต่ทางใครทางมัน วางหนังสือแล้วค้นหาเล่มที่ชอบต่อไปกันค่ะ
6 เคล็ดแต่ไม่ลับ วิธีการอ่าน
ฉันรู้ว่าการอ่านหนังสือเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ ช่วยเสริมสร้างความรู้และเพิ่มพลังความคิดสร้างสรรค์ แต่บางครั้งอาจพบว่าการอ่านหนังสือจบเล่มเป็นเรื่องที่ท้าทาย นี่คือเคล็ดลับที่จะช่วยให้สามารถอ่านหนังสือให้จบเล่มได้:
- เลือกหนังสือที่คุณสนใจ: การเลือกหนังสือที่น่าสนใจและเข้ากับตัวเราจะช่วยให้มีความกระตือรือร้นในการอ่านและตั้งใจจนทำให้อ่านไปจนจบเล่มได้ง่ายขึ้น
- วางแผนการอ่าน: กำหนดเวลาและทำแผนการอ่านที่เหมาะสม เช่น เริ่มด้วยการอ่านวันละหน้า หรือหน้าต่อหน้า หาสถานที่ที่เงียบสงบไม่มีสิ่งที่จะทำรบกวนในระหว่างการอ่าน
- กำหนดเป้าหมายการอ่าน: กำหนดเป้าหมายว่าต้องการอ่านกี่หน้าหรือกี่บทในแต่ละวัน เป้าหมายชัดเจนจะช่วยให้มีความกระตือรือร้น มีความมุ่งมั่นในการอ่านหนังสือ
- สร้างบรรยากาศที่ดี: บรรยากาศที่ดีที่สุดสำหรับการอ่านคือ ความไม่วุ่นวาย ความเงียบ และอากาศปลอดโปร่ง
- ทำให้การอ่านเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน: การอ่านกลายเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ เช่น อ่านหนังสือในขณะที่คุณเดินทางสายรถไฟใต้ดินในเวลาเดินทางกลับบ้าน หรืออ่านหนังสือก่อนนอนเป็นระยะเวลาครึ่งชั่วโมง
- เล่าเรื่องราวหรือแบ่งปันความรู้: เมื่อเราอ่านหนังสือที่ชอบและเพลิดเพลินกับเนื้อหา เราสามารถเล่าเรื่องราวหรือแบ่งปันความรู้กับเพื่อนหรือผู้อื่นได้ เป็นการสร้างความสนใจและความตั้งใจในการอ่าน
7 อย่าลืมอ่านทุกวัน
การอ่านทุกวันช่วยสร้างนิสัยในการอ่าน อยากให้ทุกวัน เป็นวันคนรักหนังสือ (Book Lovers Day) และอย่าลืมอ่านหนังสือทุกวัน การอ่านเป็นนิสัยช่วยให้อ่านหนังสือได้หลากหลายแนว หลากหลายนักเขียน และหลายๆ เล่ม ไม่มีวันใดที่จะรู้สึกว่าขาดหนังสือไม่ได้ ต้องมีหนังสืออยู่รอบตัวที่พร้อมอ่านแม้จะยุ่งแค่ไหนความต้องการที่จะอ่านไม่เคยหยุด นั่นเป็นวิธีที่สามารถทำได้ง่ายๆ ขอให้สนุกกับการอ่านและสุขสันต์วันคนรักในทุกๆ วันนะคะ
Comments 2